ทุก ๆ วันศุกร์ เกศจะมาแชร์ประเด็นเรื่องแผนการจัดการพลาสติกของประเทศไทยกันนะคะ จะได้ทราบกันว่าแผนของประเทศตอนนี้เป็นยังไง แล้วอะไรบ้างที่ยังคงเป็นประเด็นปัญหาที่แก้ไม่ตก อะไรบ้างที่เราในฐานะประชาชนคนไทยช่วยได้ ไม่ว่าจะฐานะผู้บริโภค ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคสนับสนุนเงินทุน ต่าง ๆนานา เพราะโยโลเชื่อว่าเราทุกคนรวมพลังกันเราจะทำให้แผนนี้สำเร็จได้ค่ะ
ขอบคุณภาพกราฟฟิคจาก กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
-------
EP.1: Roadmap จัดการขยะพลาสติกประเทศไทย 2561-2573
นโยบายเรือธง
ปี 2562
เลิกใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม
จากโครงการความร่วมมือการเลิกใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่มเราลดปริมาณขยะพลาสติกได้ถึง 2,600 ล้านชิ้นต่อปี แต่ยังคงมีโรงงานผลิตขวดพลาสติกที่มีพลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม รวมทั้งขวดยา/บรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ที่ยังใช้กันอยู่อย่างแพร่หลาย เพราะเป็นการขอความร่วมมือ ไม่ใช่ห้ามผลิต �
ช่วยกันยังไงดี? ผู้บริโภคเลือกได้ เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีซีลได้แล้ว เราเลือกได้จะสนับสนุนใคร ผู้ผลิตที่ใส่ใจหรือไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
เลิกใช้ไมโครบีตจากพลาสติก
กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศห้ามผลิต นำเข้า หรือ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีพลาสติกสังเคราะห์ที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตรในประเทศไทย หลาย ๆ แบรนด์หันมาใช้ไมโครบีตจากธรรมชาติแทนทั้งหมดแล้ว �
เลิกใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมสารประเภทอ็อกโซ่ (OXO) หรือ ส่วนผสมพลาสติกที่ช่วย “แตกตัว” ให้มีขนาดเล็กลงแต่ “ไม่ย่อยสลาย”
ผู้ผลิตบางเจ้าเลี่ยงบาลีโดยใช้คำว่า “ถุงย่อยสลาย” แทนคำว่า OXO เพื่อพยายามสื่อว่าถุงพลาสติกย่อยสลายได้ แต่จริง ๆ แล้วมัน “ย่อยไม่ได้จริง” ทำให้สับสนกับถุงย่อยสลายได้จริง ๆ หรือ บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้จริง ๆ
ตรวจสอบและเลือกใช้ยังไง? เลือกใช้บรรจุภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ผ่านการรับรองจากสถาบันวิจัยมาตรฐาน เช่น MTECH สวทช. / สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย / PETROMAT ที่จะระบุมาตรฐานด้านข้างบรรจุภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ถุงย่อยสลายได้สำหรับขยะเศษอาหารของบริษัท SUNBIO หรือ แก้วย่อยสลายได้จาก Bio-PBS ที่ใช้ในจุฬาฯ ของ PTTGC เป็นต้น (ถ้ามีแบรนด์ไหนที่ย่อยสลายได้จริงแนะนำเพิ่มเติม ใส่ในคอมเมนต์ได้เลยค่ะ)
ปี 2565
เลิกใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน
ณ ปัจจุบันถุงพลาสติกที่แจกจ่ายกันอยู่มีขนาดความหนา 38 ไมครอน และยังคงแจกถุงฟรี ด้วยเหตุผลที่ได้ยินบ่อย คือ อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าจะได้ไม่โดนลูกค้าคอมเพลน
ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วของไทย คือ 45,000 ล้านใบต่อปี มีขยะถุงพลาสติก 80 ล้านใบต่อวัน แต่หยุดต้นทางแจกถุงไม่ได้ ด้วยเหตุผลเพราะว่า “เพราะผู้บริโภคต้องการ” เพราะฉะนั้นผู้บริโภคต้องส่งเสียงกลับไปว่าเราไม่รับถุงพลาสติกได้ และเราไม่ใช้ถุงสปันจ์
เลิกใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร
เดินตามท้องตลาดยังเห็นการใช้กล่องโฟมใส่อาหารกันทั่วไปกันหรือไม่? เพราะกฎหมาย ไม่ได้ “ห้าม” แต่ “เชิญชวนให้ลดการใช้” เพราะเหตุผลว่าประเทศไทยออกกฎหมายรุนแรงไม่ได้จะเกิดแรงต้านจากภาคธุรกิจ ปัญหาเดียวกับการแจกถุงพลาสติก
เลิกใช้แก้วน้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และเลิกใช้หลอดพลาสติก
มีการออกข้อบังคับเลิกผลิตแก้วพลาสติกความหนาน้อยกว่า 100 ไมครอน และยกเลิกการแจกหลอดพลาสติก ยกเว้นกรณีจำเป็น เช่น แจกเด็ก คนชรา คนป่วย เป็นต้น แต่เรายังเห็นการแนบหลอดไปกับแก้วยกดื่มแบบไม่ต้องใช้หลอดได้เหมือนเป็นเรื่องปกติ
ประเทศไทยไม่มีกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับเพื่อป้องกันปัญหาขยะพลาสติกโดยเฉพาะ ยังคงมีการผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์จากหลากหลายประเภทวัสดุ โดยไม่คำนึงถึงการนำกลับมาใช้ประโยชน์ ทั้ง ๆ ที่เคยมีการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญว่า บรรจุภัณฑ์อาหารควรทำจากพลาสติก PP เพื่อให้นำไปใช้ประโยชน์ได้ในระบบรีไซเคิลใหญ่ ส่วนบรรจุภัณฑ์ Bio ทั้งหลายให้ทำเป็นอีกสี แล้วสร้างระบบเก็บกลับเพื่อจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่มีเสียงตอบรับจากหมายเลขที่ท่านเรียก
ปี 2570
นำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ 100%
เป้าหมายของปี 2567 คือ เราต้องนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ 70% ในขณะที่ปี 2566 เป้าหมายคือ 60% อัตราการนำกลับมาใช้ประโยชน์จริง คือ ประมาณ 25% (ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายแและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
เราทำได้ โยโลเชื่อว่าเราจะไปถึงเป้าหมายได้ภายในปี 2570 แต่ภาคส่วนใหญ่ ๆ ในประเทศต้องลงมาช่วยจัดการพลาสติกมูลค่าต่ำที่เป็นขยะแฝงในขยะทั่วไปให้กลับไปสู่ระบบใหญ่ให้ได้ ไม่ใช่โฟกัสแค่พลาสติกมูลค่าสูงเท่านั้น แล้วเราจะจัดการพลาสติก 75% ที่เหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพแบบไม่ใช่ปลายทางเผาเท่านั้น
----------
มีประเด็นไหนอยากสอบถาม แลกเปลี่ยน เรียนรู้ กับโยโล ทิ้งคอมเมนต์ไว้ได้เลยนะคะ ข้อมูลส่วนไหนผิดพลาดหรืออยากแนะนำเพิ่มเติม แจ้งได้ตลอดค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
#รักลูกให้รักษ์โลก
#ช่วยโลกได้ช่วยโลกด้วย