top of page

Knowledge

Pastel Autumn Animal Name Desk Strip (1).png
Pastel Autumn Animal Name Desk Strip (1).png

เราเชื่อว่าคนไทยควรต้องมีความรู้ที่รอบด้านว่า
เพราะอะไรเราจึงต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

ค้นหา

อัปเดตเมื่อ 1 พ.ย.

ช่วงหลังคนไทยหันมาสนใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อกระแสงานวิ่งการกุศลของ 'ก้าว' เกิดขึ้น งานวิ่งยิ่งผุดขึ้นทุกอาทิตย์เหมือนดอกเห็ด และจำนวนขยะที่เกิดขึ้นจากการวิ่งแต่ละครั้งก็มากมายจนบางคนอาจจะคาดไม่ถึง 

งานวิ่ง 'Nitade Fund Run' ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2562 เป็นงานวิ่งระดับมหาวิทยาลัยงานแรกที่จริงจังกับการจัดการขยะสุดๆ สมกับที่ตั้งแฮชแท็กว่า #งานวิ่งที่จริงจังกับทุกเรื่องยกเว้นเรื่องวิ่ง วันที่ทีมงานจัดงานของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดต่อมาหาโยโล เพื่อให้มาป็นส่วนหนึ่งในทีมงานการจัดการขยะ เรารับโจทย์สั้นๆ แต่ทำยาก ว่า “ทำยังไงก็ได้ให้งานวิ่งนี้เป็น Zero Waste ขยะทุกชิ้นมีทางจัดการอย่างถูกต้อง” 

ด้วยการชักชวนจากพี่บี๋ ปรารถนา เจ้าแม่ แบรนดิ้ง นิสิตเก่าคณะนิเทศศาสตร์ พวกเราฝั่ง Social Enterprise จึงรวมตัวเป็นทีมเฉพาะกิจในนาม “Think Trash" โดยมีสมาชิก คือ 


 




1) สองสาวมหัศจรรย์ มัทและอุ้ย จาก Thinktrash ช่วยสร้างคอนเทนต์การแยกขยะที่จะสื่อสารลงเพจ ทำกราฟฟิค และหาถังขยะมาแยกขยะในงานชมรม Chula Zero Waste ร่วมมือกับทีมสองสาวมหัศจรรย์ มาเป็นเจ้าหน้าที่ประจำจุดแยกขยะแต่ละจุด ทั้งสื่อสาร และช่วยคนทิ้งขยะให้ถูกประเภท ทีม 2) TP Packaging เป็นพ่องานในการประสานกับร้านค้าเพื่อให้ใช้ภาชนะ Bio ที่ย่อยสลายได้ 100% ในงาน วางแผน flow การจัดการขยะทั้งหมด ช่วยประสานงานกับแม่บ้านและฝ่ายสถานที่ของคณะนิเทศศาสตร์, กทม. และหาคนมารับขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิลจากงานวิ่งทันที 

3) ทีม Shutter Running ดูแลเรื่องการแจกและเก็บแก้วน้ำกระดาษ ระหว่างการวิ่งทีม

4) Zero Waste YOLO นำ 'ถังกลมกลิ้ง' ไปเป็นเครื่องมือในการจัดการหมักย่อยเศษอาหารเป็นปุ๋ย เพื่อรองรับเศษอาหารในงานอาสาสมัคร 'ร่วมด้วยช่วยกัน' และ 'ปอเต็กตึ๊ง' มาช่วยยกขยะเศษอาหารหนักๆ และขยะประเภทอื่นๆ จากแต่ละจุดมายังศูนย์กลางรับขยะรวมทั้งได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ใช้โรงปุ๋ยหมักและประสานส่งต่อเศษอาหารให้กับเกษตรกรมารับเพื่อไปเป็นอาหารสัตว์

ระหว่างการวิ่ง 5.55 กิโลเมตร เราไม่มีขยะทิ้งเกลื่อนกลาดเลยแม้แต่ชิ้นเดียว เพราะการทำงานร่วมกันในหน้าที่รับผิดชอบของตัวเองอย่างเป็นระบบ รวมทั้งก่อนหน้างานได้มีการสื่อสารเรื่องการจัดการขยะในงานอย่างเข้มข้นทางหน้าเพจ

หลังผู้เข้าร่วมงาน 3000 คนวิ่งเสร็จ ทุกคนเอนจอยกับอาหาร 55 เมนู แบบวิ่งฟันรันกินฟูลมาราธอน โดยช่วยกันแยกขยะแต่ละประเภททิ้งลงถังอย่างถูกต้อง 

เมื่องานวิ่งจบ ทีมงานจัดการขยะแต่ละประเภทให้ก่อประโยชน์เป็น อาหารสัตว์ พลังงาน และปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

หลังงานวิ่ง เราได้รับฟีดแบคจากคุณแม่ท่านหนึ่งที่พาลูกมางานวิ่ง ว่าลูกชอบถังหมักขยะมากๆ กลับบ้านมาแล้วมาวาดรูป และถามความรู้เรื่องวงจรจากขยะไปเป็นปุ๋ย 

 

ใน 1 วันที่จัดงานวิ่ง เราจัดการขยะเศษอาหาร 543 กิโลกรัม ขยะรีไซเคิล 60 กิโลกรัม ช้อนส้อมฝาขวด 14 กิโลกรัม เผาเป็นพลังงาน และขยะทั่วไป 156 กิโลกรัมนำไปฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ รวมแล้วเราทำให้ขยะ 773 กิโลกรัมไม่ไปสู่หลุมขยะเทกองได้  

งานวิ่ง 'Nitade Fund Run' เป็นหนึ่งในบทพิสูจน์ได้ว่า ถ้าเราทุกภาคส่วนตั้งใจจริงในการจัดการปัญหาขยะ สร้างความร่วมมือจากคนเข้าร่วมงาน และมีเครื่องมือกับระบบที่ดีในการจัดการ เราจะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีได้ เช่นเดียวกันกับงานวิ่งอื่นๆ ทั่วประเทศ หากเพิ่มการจัดการขยะในงานเข้าไปด้วยก็จะสามารถลดปัญหาสิ่งแวดล้อมไปได้มาก ขอเพียงแค่คุณมีการสื่อสารที่ดีกับคนเข้างาน และ supplier เตรียม Bio-Packaging ในงานให้ครบ มีเครื่องมือในการจัดการขยะเศษอาหารและขยะพลาสติก มีถังขยะแยกประเภทเพียงพอในงาน มีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการอบรมเรื่องการแยกขยะ เท่านี้คุณก็สามารถทำ Waste Management ในอีเวนต์ได้ง่ายๆ แล้ว แค่หนึ่งวันลดขยะได้เป็นพันตัน

เราทำได้ คุณก็ทำได้!


#ก้าบคนละก้าบ #ZeroWasteYOLO #ZeroWasteRunning

bottom of page